อย่างไรก็ดี ในข่าวร้ายนี้ ก็มีข่าวดีสำหรับประเทศไทย เพราะจากการจัดอันดับประเทศที่เข้าถึงความปลอดภัยทางสุขภาพในครั้งนี้ ประเทศไทย ครองอันดับ ที่ 6 โลก ทำคะแนนการเข้าถึงความปลอดภัยทางสุขภาพเฉลี่ยสูงถึง 73.2 คะแนน

นับเป็นประเทศแรกที่อยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง ที่ติดอันดับสูงที่สุด รองจากประเทศรายได้สูงทั้ง 5 ประเทศ

แต่ในภาพรวมทั่วโลก ก็ต้องมาคิดกันว่าจะทำอย่างไรให้ทุกคนได้เข้าถึงความปลอดภัยในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานนี้ให้ได้ ทุกประเทศทั่วโลกต้องพยายามหาคำตอบให้กับโจทย์นี้กันต่อไป

ระยะ หรือ เฟส การแพร่เชื้อของ ไวรัส COVID-19 แบ่งอย่างไร

ระยะที่ 1 พบผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ 

เป็นช่วงที่มีการนำเข้าเชื้อมาจากต่างประเทศ ซึ่งแทบทั้งหมดเกิดจากผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัศ COVID-19 โดยตรวจพบจากมาตรการคัดกรองในสนามบิน ส่วนมากจะตรวจพบจากผู้ที่มีอาการแล้ว เมื่อตรวจพบก็นำตัวผู้ป่วยมาตรวจในห้องแลปทางการแพทย์อีกครั้ง

ระยะนี้ ยังไม่สามารถตรวจคัดกรองพบผู้ติดเชื้อได้ทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะคนที่เดินทางเข้ามาในประเทศยังไม่มีอาการ แต่เมื่อเดินทางเข้ามาในประเทศ จะเกิดการแสดงอาการในภายหลัง ทำให้เกิดโอกาสที่จะแพร่เชื้อไปยังประชาชนในประเทศ

ระยะที่ 2 พบการติดเชื้อในประเทศในวงจำกัด

ช่วงนี้จะเริ่มตั้งแต่การแพร่กระจายเชื้อจากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ สู่ประชาชนในประเทศ ระยะนี้ยังสามารถทราบได้ว่าใครติดจากใคร ในทางปฏิบัติ ทุกประเทศจะพยายามจัดการจำกัดวงการระบาดให้อยู่ในช่วงระยะที่ 2 นี้ ไม่ให้พัฒนาไปสู่ระยะที่ 3 รวดเร็วเกินไปนัก

ด้วยการทำทุกวิถีทาง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ติดเชื้อมาจากต่างประเทศนั้น ไปแพร่เชื้อต่อ ซึ่งเป็นระยะ หรือเฟส ที่ประเทศไทยกำลังพยายามหยุดการระบาดให้จำกัดอยู่แค่ในระยะนี้

ระยะที่ 3 การระบาดแพร่ขยายในประเทศเป็นวงกว้าง

“เป็นเส้นทางการดำเนินของโรค ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นในวันใดวันหนึ่ง”

ซึ่งเกิดได้หลายรูปแบบ ทั้งจากคนที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงแพร่เชื้อไปยังคนอื่นๆ ถ้าควบคุมไม่อยู่ จำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในแต่ละวัน

และในกลุ่มผู้ติดเชื้อในระยะนี้ จะมีผู้ป่วยที่มีอาการหนัก จำเป็นต้องอยู่ในห้องผู้ป่วย ICU และเกิดความเสี่ยงว่า ถ้าแพทย์หรือบุคลากรการแพทย์ที่ดูแลมีไม่พอ ยอดผู้เสียชีวิตอาจเพิ่มขึ้นได้

ดังนั้น การตัดสินว่า ระยะการแพร่เชื้อ ‘ไวรัสโควิดเฟส 3’ จะเกิดขึ้นในไทยหรือไม่? ตัวชี้วัดอยู่ที่ จำนวนเคสการติดเชื้อในประเทศเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะเพิ่มขึ้นอยู่ในบริเวณจำกัด จึงทำให้จำนวนคนที่ติดเชื้อสะสมลดลง

ฉะนั้น ไม่ว่าจำนวนคนติดเชื้อจะเพิ่มมาขนาดไหน กราฟผู้ติดเชื้อจะค่อยๆตกลงอย่างแน่นอน นี่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ที่เกิดวิกฤตการแพร่เชื้อไวรัส COVID-19 นี้ต่อจากนี้ไป

ส่วนกราฟแสดงผลจำนวนผู้ติดเชื้อ จะสูงหรือต่ำ ในระยะที่ 3 ก็ขึ้นอยู่กับว่า ประเทศนั้นมีมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่เชื้อทั้งในส่วนบุคคลและสาธารณะได้ดีแค่ไหน

ดังนั้น แพทย์ระบาดวิทยา จึงฟันธงไว้ว่า ประเทศไทยทั้งประเทศยังไม่จัดอยู่ในประเทศกลุ่มเสี่ยง เพราะมีบางจังหวัดที่ยังไม่มีผู้ป่วยเข้าข่ายเสี่ยงเลย ไม่ใช่เรื่องที่จะเหมารวมแล้วกำหนดชะตาประเทศได้ มีอีกถึงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ที่ยังไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อเลย